วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ตลาดโรงเกลือน้ำท่วม

 แจ้งทราบๆ ผมได้ข่าวตลาดโรงเกลือน้ำท่วมครับ เมื่อวานนี้ผมเลยโทรไปถามเรื่องน้ำท่วมตลาดโรงเกลือกับร้านที่ผมซื้อประจำอยู่ ได้ความว่าตอนนี้ตลาดโรงเกลือเก่าน้ำท่วมครับ ทำให้ร้านที่ซื้อประจำปิดถึง 28 กันยายน เพื่อรอน้ำแห้ง ตอนแรกกะไปวันศุกร์นี้ เลยต้องเลื่อนไปวันจันทร์แทนละ ใครจะไปซื้อของช่วงนี้ก็เช็คข่าวกับทางร้านดีๆนะครับ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

นับ กับ คัด ต่างกันยังไง

มันเป็นประสบการณ์ครั้งแรกๆที่ผมไปซื้อเสื้อเชิ๊ตที่ตลาดโรงเกลือมาขาย วันนั้นไปถึงแต่เช้าตรู่ประมาณ7โมงกว่าก็ถึงแล้ว ออกจากกรุงตั่งแต่ตี4เพื่อที่จะไปหาร้านเสื้อเชิ๊ตที่ถูกเงินและถูกใจ
หาไปได้ซักพักก็เจอละครับ ก็ร้านเดียวกับร้านประจำที่ซื้ออยู่ตอนนี้นี่แหละ ไปถึงก็สอบถามราคาไปเรื่อย คนขายก็พาไปดูของครับคุณภาพก็ตามราคาครับ มีตั้งแต่ 18-90 บาท
คนขายหันมาบอกกับผมว่า มีถูกกว่านี้อีกนะครับ แต่ต้องนับ มาถึงตอนนี้ผมงงละ เลยถามไปตรงๆกับคนขายว่า นับคืออะไรต่างกะคัดตรงไหน ได้คำอธิบายแบบไม่ค่อยชัดติดเขมรว่า

แบบนับ = คนขายจะนำเสื้อมามัดรวมกันเป็นจำนวน 10 ตัว ต่อ 1 มัด แต่ผู้ซื้อไม่สามารถแกะเสื้อเหล่านั้นดูตำหนิทีละตัวได้ครับ ทำได้เพียงดูสีคร่าวตำหนิคร่าวๆแก้มัดไม่ได้แล้วซื้อยกมัดเลย ในนั้นจะมีทั้งเสื้อดี เสื้อขาด เสื้อเปื้อน ผมเคยลองซื้อแบบวิธีนับมาแล้วครับ ปรากฎว่า"จุก"ครับ เสียประมาณครึ่งนึง แต่เค้าคิดราคาตัวละ 10 บาทเท่านั้นครับ เพราะงั้นมัดนึงตก 100 บาท เท่านั้นเอง แต่ขอบอกก่อนเลยถูกก็จริงแต่สีกับลายไม่ค่อยมีสวยครับ

แบบคัด = ตามรูปด้านล่างเลยครับ มีเป็นกองๆเลย บางทีคนขายจะแยกให้เราแล้ว ระหว่างผ้าสี กับผ้าลาย จะได้คัดได้สบายขึ้นครับ ผ้าที่นำมาให้คัดก็คือจากมัด10ตัวนั่นแหละครับแต่เราคัดสภาพได้ตามสบายเอาก็เอาไม่เอาก็ไม่เป็นไร

                                           รูปนี้เป็นหัวผ้าusครับสภาพสวยเลย

หางผ้า = สามารถคัดได้เลยครับกองสูงท่วมหัวก็มี ของดีๆก็พอมีเหลืออยู่บ้าง แต่สีไม่ค่อยมีสวยครับ อีกอย่างเสียเวลาเป็นที่สุด

                                          กองนี้แหละครับคือหางผ้าถูกสุดของการคัด

คงได้ความรู้ไปไม่มากก็น้อยนะครับสำหรับการซื้อผ้าคัดกับนับที่ตลาดโรงเกลือ ครั้งหน้าผมจะมาว่าถึงเรื่องราคา แก้ทรงเสื้อ รีด แล้วก็ราคาซักครับ

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

เสื้อเชิ๊ตโรงเกลือ

                                    เพื่อนผมเองครับกับร้านประจำคัดเกือบทั้งร้าน
หายไปหลายวัน ไปไหนมานะหรา ผมไปซื้อของโรงเกลือครับ ไปซื้อของมาขายอะครับ งวดนี้ก็ได้มาเกือบ 300 ได้มั้ง ก็ ok นะแต่รู้สึกว่าของแพงขึ้นนะ ราคาเดิมหายากอยู่ คือผมคัดหางๆมาแก้sizeขาย ก็ไปกับเพื่อนอีก3คน ร้านเดิมของตาย ไปหาคัดร้านใหม่ก่อนดีกว่า เออ ผมใช้วิธีเช่ารถมอไซค์เอาอะครับ ไม่ไหวเดินอยู่แล้วเพราะร้านอยู่ไกลกัน แล้วก็จะไปหาร้านใหม่ๆเผื่อไว้สำหรับงานหน้า เข้าเรื่องกันดีกว่า
    ราคาเสื้อเชิ๊ตที่ทางร้านที่โรงเกลือกำหนดไว้ก็จะแบ่งได้หลายอย่างนะครับ
-ราคผ้าหัวกระสอบ ก็จะแยกได้อีกว่า กระสอบ us,japan ฯ ซึ่งราคาก็จะต่างกันไป หัวผ้าก็ประมาณ70-150 แล้วแต่จำนวนแล้วก็การต่อรองครับ
-ราคาน้ำสองน้ำสาม มีตั้งแต่ 20-45 บาท
-สุดท้ายคือผ้าขาดกับพวกเปื้อนครับ 6-7 บาท ก็ซื้อได้แล้ว
ในรูปเป็นร้านเสื้อเชิ๊ดที่พวกผมไปคัดครับ ก็จะมีให้เลือกนะครับว่า จะนับหรือคัด เดี๋ยวจะมาว่ากันต่อเรื่องนับกับคัดว่าแตกต่างยังไงนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

เสื้อผ้าตลาดโรงเกลือมาจากไหน

       
ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยที่กัมพูชาเสร็จสิ้นภาวะสงคราม ซึ่งตอนนั้นชาวเขมรยังอยู่ในฐานะยากจน ประเทศต่างๆจึงส่งของใช้ ประเภทเสื้อผ้าผ่านองค์การสหประชาชาติ ให้กับชาวเขมรเป็นจำนวนมาก จึงเกิดช่องทางให้มีการนำเสื้อผ้าบริจาค ที่มาจากประเทศเหล่านั้นส่งมาขายยังประเทศไทยในราคาถูก
         จนมาถึงปัจจุบันของบริจาคคงไม่มีอีกแล้ว จะมีคือพ่อค้าไปรับซื้อของเหลือใช้จากต่างประเทศ แล้วนำมาขายต่อที่ตลาดโรงเกลือ แต่ก็มีคนไทยที่บินไปตัดของเหล่านี้ยังต่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ของที่โรงเกลือ น้องลงไปแต่อย่างใด จากที่ผมเคยถามเจ้าของร้านที่เป็นคนเขมรมา เค้าบอกว่าเค้าไปตัดไปคัดของจากฝั่งเขมรมาก่อนที่จะมาถึงไทย ของพวกนี้จะมากันเป็นกระสอบๆ แต่ก็มีพ่อค้าบางคนเปิดประสอบคัดของกันที่นู้นเลยก็มี เพื่อที่จะได้ของที่มีสภาพสวยๆ ที่เป็นหัวๆ จะได้นำมาขายต่อได้ราคาดี ส่วนของที่มีตำหนิก็จะซ่อม หรือแยกขายเป็นอีกน้ำนึง
      บทความต่อไปคงจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสินค้าแต่ละอย่างละนะครับ


       

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

โรงเกลือมันอยู่แถวไหนอ่ะ ???


ที่อยู่จิงๆคือ 449-450 อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว การเดินทางไปตลาดโรงเกลือก็ไปได้หลายทางอะนะครับก็แบ่งเป็น

รถส่วนตัว   สะดวกสบายหน่อยก็รถส่วนตัว เอาเป็นจากบ้านผมกรุงเทพนะครับผมวิ่งเส้นมอเตอร์เวย์ไปลงฉะเชิงเทรา จากนั้นขับตรงไปเรื่อยๆถึงแยกเลี้ยวขวาไปทางอำเภอพนมสารคาม จากนั้นก็ตรงไปเรื่อยๆ จนไปถึงแยกเขาหินซ้อนให้เลี้ยวขวา จะเข้าเส้นทางหลวง33 จากตรงนี้ผมเคยจับอีกประมาณ 120 โลก็ถึงละ ใช้เวลาก็ประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ครับ

รถโดยสารประจำทาง มีทั้งรถธรรมดาและปรับอากาศ ออกจาก ขนส่งหมอชิต ทุกวันเลยครับหลายเที่ยวด้วย เพื่อนผมที่ไปใช้วิธีนั่งรถบ่อนไปครับ 300 บาทไปกลับ

รถไฟ ออกวันละ 2 ขบวนครับ เวลา 05.55 และ 13.05 น. แต่ก็ไม่แนะนำนะ

รถตู้โดยสาร แนะนำขึ้นที่อนุเสาวรีย์เลยครับมีรถไปโรงเกลือทุกวัน รถตู้จะจอดตรงฝั่งขาออกไปจตุจักร รถจะออกทุกชั่วโมง เที่ยวแรก 6.00 ถึง 17.00 น. ส่วนขากลับจากโรงเกลือ ก็ 04.00 ถึง 17.00 น.


                      เด๋วพรุ่งนี้จะมาว่ากันถึงเรื่องสินค้าที่โรงเกลือว่ามีที่มาที่ไปยังไงกันครับ

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ขอต้อนรับสู่ "โรงเกลือ"

ตลาดโรงเกลือ

หลายคนคงเคยได้ยินถึงชื่อ ตลาดโรงเกลือ มาไม่น้อยนะครับ ว่าเป็นตลาดค้าเสื้อผ้ามือสองที่ใหญ่ที่สุดในไทย
ผมเป็นคนนึงครับที่ไปรับของจากโรงเกลือมาขายเป็นประจำ ผมคิดว่าตลาดโรงเกลือนี้จะกลายเป็นแหล่งความรู้ของคนที่รับของจากที่นี่มาขายอยู่แล้วก็ดี หรือที่คิดว่าจะลองทำอาชีพนี้ดูก็ดี คนที่ไม่เคยไปก็คงอยากรู้นะว่าที่มันเยอะขนาดนี้เนี่ย ของพวกนี้มันมาจากที่ไหน ค้าขายกันยังไง ตลาดโรงเกลือนี้มันอยู่ส่วนไหน แล้วไอ้ที่มันเป็นมือสองนี่ มันมีสินค้าอะไรบ้าง(มือหนึ่งก็มีนะ) ลองตามบล็อกนี้ดูนะครับ เด๋วผมจะพยายามแจกแจงสินค้า รวมถึงราคาที่ผมซื้อเข้า และวิธีในการต่อรองในกรณีที่ซื้อเป็นจำนวนมาก หรือสอยเอาตามร้าน รวมถึงของที่เค้าเรียกว่าเปิดกิ๊ป น้ำหนึ่ง น้ำสอง รวมถึงหางๆ  อาจเป็นประโยชน์กับการนำไปต่อรองราคากับพวกพ่อค้าแม่ค้าเขมร ยังไงก็ติดตามกันดูนะครับ